Brand Concept

  • • แรงบันดาลใจของผลิตภัณฑ์คือธรรมชาติ ความเบา และความนุ่มนวล
  • การผลิตทุกขั้นตอนจากความพิถีพิถันและตั้งใจของชาวบ้าน ที่ปลูกข้าวไทย,ผลไม้ไทย และ สมุนไพรไทย จนได้ผลผลิตจากธรรมชาติที่มีคุณภาพ
  • เป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคที่ ไม่ระคายเคืองต่อผิว
  • เหมาะสำหรับ คนรักผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
  • การออกแบบบรรจุภัณฑ์จะดู มินิมอลวินเทจผสมความเป็นไทยและทันสมัย

From the FOUNDER

คุณภฤชฎา ศรีเหนี่ยง
ผู้ก่อตั้ง แบรนด์ วาเบลล์ล่าซ์
ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอัตลักษณ์ ของจังหวัดพิจิตรสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่จากธรรมชาติและวัตถุดิบในท้องถิ่น

ข้อดีของ ข้าวไทย ผลไม้ไทย และ สมุนไพรไทย มีมากกว่าคุณสมบัติทางโภชนาการซึ่งเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางที่มีคุณค่า การใช้ข้าวยังช่วยให้ผู้คนในชนบทมีชีวิตที่ดีขึ้น

Our products also won reward

Under the supervision of national innovation agency thailand,Lower Northern Science Park Naresuan University and National Research Council of Thailand , our natural innovation products become premium quality cosmetics since 2016.

Wabellas also create a varietiy of products such as Skin Care and Spa products (natural-made scrub from grounded Thai rice). Rice is rich in amino acids and vitamin E, substances which have a vital function for the good health of the body and skin. Further, with high amount of alanine, rice proteins also help for strengthening the cell hydration which make skin smooth and soft.

“วาเบลล์ล่าซ์”
ความงามที่แท้จริงจากวังหว้า

สีเหลืองทองของรวงข้าว รสหวานอมเปรี้ยวของส้มโอท่าข่อยและมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองสุกเหลืองอร่าม
คือสุดยอดของดีเป็นที่เลื่องลือของเมืองพิจิตร ที่หากใครได้มีโอกาสผ่านมาเป็นต้องหยุดชิมลิ้มลองสักครั้งในชีวิต
ติดอกติดใจจนต้องซื้อกลับไปเป็นของฝาก

ความหอมหวานและคุณภาพของสินค้าการเกษตรท้องถิ่นยังเป็นวัตถุดิบหลักให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปสร้างชื่อให้กับจังหวัด อย่างมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองกวนและส้มโอท่าข่อยกวน
และด้วยมุมมองการณ์ไกลของ ฝ้าย-ภฤชฎา ศรีเหนี่ยง เจ้าของผลิตภัณฑ์ในชื่อ “วาเบลล์ล่าซ์”
จึงได้พลิกโฉมหน้าสินค้าเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงความงามที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

ประหนึ่งว่า “ได้สวย”..ด้วยผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากธรรมชาติที่มาจากผลผลิตพื้นถิ่นของไทยแท้ๆ …น่าสนใจไม่น้อยเลย

จากความชื่นชอบ หลงใหลในวัตถุดิบในจังหวัดบ้านเกิด และความผิดหวังจากประสบการณ์การใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีสารเคมีเป็นอันตราย จุดประกายให้เธอนำของดีเมืองพิจิตรมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเพื่อความงามจากวัตถุดิบธรรมชาติ จนชนะรางวัล OTOP PREMIUM และยังเป็นของใช้ ของฝากสุดพิเศษที่มีกลิ่นอายเมืองเหนือวางขายใน คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี เป็นของที่ระลึกถึงความเป็นไทยและอัตลักษณ์เมืองพิจิตรอีกด้วย

ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง

“รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง” เป็นเพียงส่วนหนึ่งในประโยคคำขวัญประจำจังหวัดพิจิตร เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเมืองชาละวัน จังหวัดทางภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย มีข้าวหอมมะลิเป็นผลผลิตขึ้นชื่อ ฝ้ายที่ในขณะนั้นเพิ่งจบปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ต้องย้ายกลับมาบ้านเกิดเพื่อดูแลแม่ที่กำลังป่วยจึงเกิดไอเดียผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากวัตถุดิบท้องถิ่น

สครับข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นแรก ด้วยการหยิบเอาอัตลักษณ์ของบ้านเกิดอย่างข้าวเจ้ามาใช้เป็นวัตถุดิบหลัก “จังหวัดพิจิตร มีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการทำนา สี่เดือนถึงจะได้ผลผลิตสักครั้ง เราจึงเลือกใช้ปลายข้าว จมูกข้าวที่ได้จากกระบวนการสีข้าว นำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์” สครับข้าวที่ได้จากเศษข้าวจากโรงสีเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมข้าวไทย

หากได้มาพิจิตร นอกจากข้าวในทุ่งนาสีทองแล้ว ยังมีพืชผลไม้เศรษฐกิจกลิ่นหอมหวานชวนให้ลิ้มลอง “ในจังหวัดพิจิตรมีการปลูกส้มโอท่าข่อยที่เป็นผลไม้ GI และมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เรานำลูกหว้าไปตากแดด อบ แล้วนำไปสกัด ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นก็มีกรรมวิธีในการทำที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ”

จากการที่ส้มโอท่าข่อยได้รับการลงทะเบียนเป็นผลไม้ GI (Geographical Indication) หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จึงเป็นสิ่งสะท้อนถึงเมืองพิจิตรได้เป็นอย่างดี และถูกนำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์หลากชนิด รวมถึงการนำไปผลิตเป็นเจลอาบน้ำ แฮนด์ครีมจากส้มโอท่าข่อย และครีมบำรุงผิวจากมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมของสมุนไพรไทยท้องถิ่นอย่างใบบัวบกรวมอยู่ด้วย

ต้นหว้าจากตำบลวังหว้า

ไม่เพียงแค่ข้าวเจ้า ส้มโอท่าข่อยและมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเท่านั้น แต่ในตำบลวังหว้ายังมีตำนานต้นหว้าอายุกว่า 100 ปี ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของชื่อตำบลด้วย ทางผลิตภัณฑ์เล็งเห็นว่าในปัจจุบันต้นหว้าถูกละเลยและไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร จึงได้หยิบเอาลูกหว้า ผลไม้ตระกูลเบอร์รีของไทย สัญลักษณ์ของตำบลมาใช้ “ต้นหว้าที่มีอยู่ในตำบล คนปลูกแล้วปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ทำอะไรเราก็รับซื้อ และเรายังช่วยขยายพันธุ์ต้นหว้าให้คนในชุมชนไปปลูก พอมีผลผลิตก็มาขายเรา ส่วนคนมีต้นอยู่แล้วก็เอาผลผลิตมาขาย”

ด้วยความที่วัตถุดิบแต่ละชนิดมีระยะเวลาเพาะปลูกและฤดูเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกัน จึงต้องใช้ทุกความพยายามในการเก็บสารสกัดให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เพียงพอต่อการผลิตทั้งปี “อย่างลูกหว้ามันออกผลปีละหนึ่งครั้ง พอถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว เราก็เก็บไว้เป็นสารสกัดให้ได้มากที่สุด”

เมื่อได้วัตถุดิบแล้วจึงนำมาผ่านกรรมวิธี ซึ่งฝ้ายพาแบรนด์วาเบลล์ล่าซ์เข้าร่วมโครงการร่วมทุนที่มหาวิทยาลัยต่างๆ จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ “มีการทำวิจัยตั้งแต่กระบวนการทำสารสกัด ผลิตภัณฑ์ทุกตัวต้องผ่านการทดสอบของสารระคายเคืองและกลุ่มผู้ทดสอบ” เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัยต่อผู้ใช้

โลก Zero Waste ที่ต้องการ

ไม่เพียงแนวคิดการนำเอาวัตถุดิบท้องถิ่นมาใช้ แต่ยังมีอีกหนึ่งแนวคิดเป็นพื้นฐานในกระบวนการผลิต “เรามีแนวคิดที่อยากให้โลกนี้เป็น Zero Waste ก็เลยเลือกใช้ส่วนที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิต” ฝ้ายไม่ได้เลือกจากวัตถุดิบครบองค์ประกอบ หากแต่มองเห็นประโยชน์จากสิ่งที่หลงเหลือแล้วนำมาชุบชีวิตใหม่

กว่าเราจะได้ข้าวขาวเม็ดสวยมาหุงรับประทาน ข้าวทุกเม็ดต้องผ่านกระบวนการเก็บและสีจากโรงสี เพื่อคัดนำเม็ดที่ดีที่สุดมาบรรจุขาย หลงเหลือเศษปลายข้าวไว้อย่างไร้ประโยชน์ เมื่อมองเห็นสิ่งที่หลงเหลือนี้ จึงนำไปสู่ความคิดที่อยากใช้ประโยชน์จากทุกส่วนสัด “ปกติปลายข้าว จมูกข้าว เกษตรกรจะนำไปเป็นอาหารสัตว์ เราเลยรับซื้อส่วนนี้ เราก็รับซื้อเขากิโลกรัมละ 15 บาท” อย่างน้อยก็เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ แม้เพียงเล็กน้อยแต่ก็ช่วยให้พวกเขาไม่ต้องทิ้งเศษวัตถุดิบไปอย่างไร้ประโยชน์

นอกจากเศษเหลือจากข้าวแล้ว กระบวนการทำส้มโอท่าข่อยกวนและมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองกวน อาหารแปรรูปขึ้นชื่อยังมีชิ้นส่วนที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ เหลือไว้เป็นขยะเปล่า จึงเลือกใช้ส่วนเปลือกของส้มโอท่าข่อยนำมาสกัดเป็นน้ำมันส้มโอ และนำเม็ดที่เหลือจากการทำมะม่วงกวนมาใช้ สกัดเป็นส่วนผสมเพื่อผลิตเป็นสินค้าต่อไป

สร้างงาน สร้างเงินให้คนในชุมชน

วาเบลล์ล่าซ์ มองเห็นความสำคัญของการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับชาวสวนเกษตรกร จึงได้รับซื้อเศษข้าวจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฅนพิจิตรอินทรีย์ รับซื้อลูกหว้าจากชาวไร่ชาวสวนและชาวบ้าน รวมถึงส้มโอท่าข่อยและมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองจากชาวสวนและกลุ่มวิสาหกิจอื่นๆ ซึ่งฝ้ายเป็นผู้ประสานงานเองทั้งหมด

“เหนื่อยมากค่ะ” แต่ความเหนื่อยของเธอกลับสร้างรอยยิ้มให้กับคนในชุมชน นอกจากจะสร้างรายได้แล้ว ในทุกขั้นตอนการผลิตยังสามารถสร้างงานและเงินได้ ด้วยการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวาเบลล่าซ์ ขึ้น เพื่อเป็นจุดศูนย์รวมกระจายงาน กระจายความรู้

“เรามีแนวคิดที่อยากให้คนในชุมชนมีรายได้ เพราะคนที่ทำในกลุ่มส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงที่ต้องดูแลลูกอยู่บ้าน หรือคนที่ต้องดูแลพ่อแม่ที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง” ซึ่งงานที่ว่าก็มีตั้งแต่การแกะ ล้าง หั่น ตากเพื่อเตรียมวัตถุดิบให้พร้อมก่อนจะไปผ่านกรรมวิธีสกัด หลังจากนั้นยังมีขั้นตอนรับจ้างทำแพ็กเกจจิ้ง และรับจ้างติดสติกเกอร์

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนยังขยายอาณาจักร ให้ความรู้กับชาวบ้าน “เรามีการทำเวิร์กชอป นำเปลือกส้มโอที่เราใช้ก็นำมาทำเป็นยาดมโบราณ” รวมถึงการให้ความรู้กับนักศึกษา “เราร่วมมือกับวิทยาลัยชุมชน ในวิชามาร์เก็ตติ้ง นักศึกษาที่เรียนวิชามาร์เก็ตติ้ง เราก็จะให้เขานำผลิตภัณฑ์ไปทำการศึกษา ทำมาร์เก็ตติ้ง ออกบูธทด ลองขาย ให้เขามีรายได้จริงๆ” วาเบลล์ล่าซ์ยังได้ประสานงานกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ส่งเสริมให้การท่องเที่ยวในจังหวัดพิจิตรคึกคักขึ้นด้วย

ชื่อวาเบลล์ล่าซ์นี้ เกิดจากความตั้งใจอยากให้สะท้อนถึงตำบลบ้านเกิด “วา” ในที่นี้จึงมาจากชื่อตำบลวังหว้า และคำว่า “เบลล่า” นั้นแปลความหมายได้ว่าความงาม ชื่อนี้เมื่อรวมกันแล้วจึงหมายถึงความสวยงามของธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากตำบลวังหว้า

แต่เมื่อเราได้ทำความรู้จักเรื่องราวของวาเบลล์ล่าซ์แล้ว กลับพบว่าสิ่งที่สวยงามยิ่งกว่า คือมีแนวคิดและกระบวนการทำที่คำนึงถึงสิ่งรอบตัวและผู้อื่น จึงไม่ใช่แค่การสนับสนุนผลิตภัณฑ์หนึ่ง หากแต่คือการสร้างรายได้ทางอ้อมให้กับคนในตำบลวังหว้า จังหวัดพิจิตรด้วย นี่คือความงามของตำบลวังหว้าอย่างแท้จริงที่ทุกคนจะได้สัมผัสผ่านความตั้งใจในผลิตภัณฑ์ธรรมชาติคุณภาพดีนี่เอง